Category Archives: ความรู้อสังหา

วางแผนจัดหาและตรวจสอบที่ดินในการทำการเกษตร

การทำการเกษตรในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ยังขาดการจัดทำที่เป็นระบบแบบแผน ขาดการบันทึกและค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม รวมถึงขาดการประเมินถึงต้นทุน และสภาวะการณ์ของราคาในวงกว้าง ซึ่งรายละเอียดที่กล่าวมานั้นล้วนจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดต้นทุนค่าใช้จ่ายและยังช่วยทำนายได้ถึงแนวโน้มการลงทุนได้อีกด้วย ดังคำกล่าว “เราเขา รู้เรา รบร้อยชนะร้อย” แต่เราไม่ต้องเอาถึงร้อยแค่เก้าสิบโอกาสสำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว โดยขอให้จำแนกรายละเอียดเป็นขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้ วางแผนจัดหาและตรวจสอบที่ดิน การเลือกทำเลและแหล่งที่จะลงทุนเพาะปลูกนั้นมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังคำกล่าวที่ว่า “ชัยภูมิดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” ก่อนที่เราจะซื้อหรือเช่า พื้นที่นั้น ควรเลือกพืชที่จะปลูกไว้ในใจก่อนว่าเราจะเลือกพืชประเภทไหนไว้สัก 3 หรือ 4 ชนิด จากนั้นสิ่งที่ต้องเข้าไปสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่ คือ 1. เจ้าของเดิมมีการขุดหน้าดินเดิมไปขายหรือไม่ พื้นที่ที่ดีควรมีหน้าดินลึกเพียงพอกับระบบรากของพืชที่เราจะปลูก 2. เป็นพื้นที่ ๆ ปลูกพืชที่บางประเภทที่ทำให้หน้าดินเสื่อมสภาพหรือเป็นแหล่งเพาะโรคไม่ หรือมีเคยโรคพืชระบาดรุนแรงในพื้นที่นั้นหรือไม่ เช่นพืชจำพวก ยูคาลิปตัส,มันสำปะหลัง ฯลฯ จะทำให้ต้นทุนการปรับปรุงดินของเราสูงขึ้น … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on วางแผนจัดหาและตรวจสอบที่ดินในการทำการเกษตร

การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน

ในห้วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยเน้นการเกษตรเพื่อการส่งออกโดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดเดียวเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ ใช้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง แต่การผลิตต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมีในปริมาณมาก การเพิ่มผลผลิตมักเน้นการขยายพื้นที่มากกว่าวิธีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่และการผลิตที่ขาดการอนุรักษ์ส่งผลให้ ป่า-ดิน-น้ำ เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผลที่ตามก็คือ ประสิทธิภาพการผลิตลดลง ต้องใช้ปัจจัยการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่สมดุลกับรายได้จากการขายผลผลิต โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์ ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจึงมีราคาแพง ผนวกกับภัยธรรมชาติและการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชที่รุนแรงขึ้น ทำให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน มีหนี้สินล้นพ้นตัว บางรายต้องขายที่ทำกินแล้วไปบุกรุกพื้นที่ป่าหรือไม่ก็ทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเมือง จากสภาพปัญหาข้างต้น การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน การเกษตรยั่งยืน เป็นหลักการที่ว่าด้วยการจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางการเกษตรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสนองความจำเป็นอันเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ โดยสามารถดำรงหรือบำรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้การพัฒนาการเกษตรในปัจจุบันยังจำเป็นจะต้องดำเนินการให้เป็นไปทั้งระบบ กล่าวคือ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของการใช้ที่ดินรูปแบบต่างๆ และผลกระทบที่จะมีต่อกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการเกษตรที่มีความจำเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบท จะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อการฟื้นฟูสภาพป่าไม้และสิ่งแวดล้อมโดยรวมด้วย โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ วนเกษตร นับเป็นแนวทางหนึ่งของรูปแบบการใช้ที่ดินที่จะเปลี่ยนจากระบบการเกษตรดั้งเดิมไปสู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน เป็นการผสมผสานความกลมกลืนให้เกิดขึ้นระหว่างไม้ยืนต้นกับกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของที่ดินหน่วยหนึ่งๆ … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Comments Off on การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน

เกษตรอินทรีย์มีความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรคใด พื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะให้ความสนใจเฉพาะแต่ผลผลิตของพืชหลักที่ปลูกโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต การจัดการระบบนิเวศเพื่อเสริมสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต วงจรสิ่งมีชีวิต กิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน หลักการคือการนำเอาวัตถุดิบมาใส่ในไร่นาไม่มาก แต่ให้มีการหมุนเวียนของสารอาหารในที่นาให้มีความยั่งยืน พอกพูน ของระบบนิเวศ เป้าหมายแรกคือสุขภาพ และกิจกรรมที่ใส่ใจต่อดิน สิ่งแวดล้อม ชุมชน สัตว์ มนุษย์ เพราะความอุดมสมบูรณ์ของดินถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่คลุมดินนี้นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุเหล่านี้เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่อยู่ใน ดิน ดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุคลุมหน้าดินจึงทำให้ดินมีชีวิตขึ้น ซึ่งเมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพังก็จะทำให้เกิดฮิวมัสซึ่งทำให้ดินร่วนซุย และสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆได้เพิ่มมากขึ้น … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , , | Comments Off on เกษตรอินทรีย์มีความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ

เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้พัฒนากลายเป็นแนวทางหลักในการผลิตทางการเกษตรหลักของญี่ปุ่น

การเกษตรแผนปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติเขียวในราว ค.ศ.1960 โดยใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เกษตรและเทคโนโลยี มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เช่นการใช้พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรไถพรวนได้ลึกมากขึ้นทดแทนแรงงานจากสัตว์ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถผลิตได้ในทุกช่วงเวลาและมีผลผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำพวกปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นในการลงทุนที่เท่าเดิม ในระยะเวลาเดิม เพื่อจะได้มีวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและเป็นการประหยัดแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่หลั่งไหลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมตามที่ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อนหน้านี้ การปฏิวัติเขียว ได้กลายเป็นนโยบายและแนวทางหลักของการพัฒนาประเทศส่วนใหญ่ในโลก นโยบายส่งเสริมการทำการเกษตร รวมถึงเทคนิคการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้ถูกกำหนดให้ใช้แนวทางเดียวกันจนกลายเป็นระบบหลักของทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากแนวคิดในเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่เน้นความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมากมีผลตอบแทนสูงกับผู้ผลิตได้กลายเป็นแนวทางหลักในการเลือกรูปแบบการผลิตทางการเกษตร การปฏิวัติเขียวได้เข้าสู่ประเทศในเอเชียตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยประเทศผู้ชนะสงครามได้นำการเกษตรกรรมที่ในยุคนั้นเรียกว่าเกษตรกรรมแผนใหม่ที่เน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์เข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่นและได้แพร่ต่อไปยังประเทศพันธมิตร เช่น เกาหลีใต้ และอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นต้น รูปแบบการเกษตรแผนใหม่นี้ช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถผลิตพืชผลได้ในปริมาณที่เท่ากับการเพาะปลูกแบบพื้นบ้านแบบดั้งเดิม แต่ใช้เวลาน้อยกว่า นอกจากนี้ยังใช้แรงงานของเกษตรกรน้อยลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ดังนั้น จึงทำให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และได้พัฒนากลายเป็นแนวทางหลักในการผลิตทางการเกษตรหลักของญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในเอเชียไปในที่สุด … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Comments Off on เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้พัฒนากลายเป็นแนวทางหลักในการผลิตทางการเกษตรหลักของญี่ปุ่น

เทคโนโลยี การปลูกพืชในน้ำ เหมาะกับการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันมาก

เทคโนโลยีการปลูกพืชในน้ำวิธีนี้ เป็นเทคนิคใหม่ที่ไม่เหมือนกับการปลูกพืชในน้ำ (HYDROPONIC) ที่กระทำกันอยู่ ทั้งสองวิธีนี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก หากแต่ทว่ามีความแตกต่างในหลักการอย่างชัดเจน การปลูกพืชในน้ำที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบราก กล่าวคือ พืชที่ปลูกในน้ำไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้หากปราศจากการช่วยเหลือของมนุษย์ในการป้อนอากาศให้กับมัน แต่ในระบบใหม่นี้ เป็นการปรับเปลี่ยนระบบรากให้กับต้นพืช นั่นก็คือการชักนำให้รากพืชที่เกิดขึ้นนั้นคงทนอยู่ในน้ำได้ และมีความสามารถในการดูดซับอากาศออกซิเจนในน้ำมาใช้ได้ โดยที่เราไม่ต้องป้อนอากาศให้แก่มัน และรากก็ไม่เน่าเปื่อยเหมือนกับวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันอยู่ ดังนั้น เทคนิคการปลูกพืชในน้ำตามแนวทางใหม่นี้จึงสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผักล้มลุก พืชอายุข้ามปี ไม้ยืนต้นเล็กใหญ่ ขอให้มีระบบยึดค้ำประคองลำต้นให้ยืนอยู่ได้เท่านั้น ก็สามารถนำไปปลูกในแหล่งน้ำต่างๆได้เลย โดยไม่ต้องใช้ระบบป้อนอากาศ หรือจัดหาอาหาร/ปุ๋ยให้กับมัน (ถ้าแหล่งน้ำนั้นมีธาตุอาหารเพียงพอ) เทคนิคกรรมวิธีนั้นก็กระทำได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่นำเอา เทคโนโลยีการโคลนนิ่งพืชกลางแจ้งมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ด้วยการเพิ่มเติมอุปกรณ์แม่เหล็กและไฟฟ้าเข้าระบบเท่านั้นก็สามารถผลิตพืช ไฮโดรโปนิค นำไปปลูกในน้ำได้เลย หลักการของกรรมวิธีนี้ก็คือการชักนำให้เกิดรากที่อยู่ในน้ำได้เหมือนกับพืชน้ำอย่างผักบุ้งหรือผักกระเฉด หรือข้าว เป็นต้น วิธีการนั้นก็คือ การเพาะเมล็ดพืช หรือเพาะชำชิ้นส่วนของพืช (ใบหรือกิ่ง) ในแปลงเพาะชำที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on เทคโนโลยี การปลูกพืชในน้ำ เหมาะกับการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันมาก

ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติกับปลูกพืชไร้ดิน

การปลูกผักไร้ดิน หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ไฮโดรโปนิกส์ หรือ การปลูกพืชไร้ดิน การปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืช การปลูกพืชในสารอาหารพืช เป็นต้น การปลูกผักแบบไร้ดินนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก ก็คือ จะปลูกพื้นที่ไหนก็ได้ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกจำนวนน้อยเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือการผลิตเชิงธุรกิจ เป็นวิธีที่เหมาะสมกับความต้องการสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่ปลูกน้อย ปกติ แล้วพืชจะเจริญเติบโตได้ดีนั้นต้องมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม คือ แสง น้ำ ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง (pH) ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งที่รากส่วนเหนือดิน การปลูกพืชบนดินโดยทั่วไปแม้ดินจะมีธาตุ อาหารและอากาศอันเป็นปัจจัยที่พืชต้องการนั้นมักมีข้อเสีย คือ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ เช่น โครงสร้างของดิน ปริมาณธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ความเป็นกรดด่างไม่เหมาะสม ยุ่งยากต่อการปรับปรุงและเสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาเหล่านี้ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน ส่วนการปลูกพืชไร้ดินนั้นพืชจะได้รับสารละลายที่มีธาตุอาหารเรียกว่าสาร ละลายธาตุอาหารพืชที่ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช ที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีเพราะมีการปรับค่าการนำไฟฟ้า (EC) และความเป็นกรดด่าง … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติกับปลูกพืชไร้ดิน

การหันมาเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค

ปลานิล เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่งทั้งในรูปแบบการค้าและเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้แทบทุกชนิด เนื้อมีรสชาติดี ตลาดมีความต้องการสูง ลักษณะการเลี้ยงมีอยู่ 2 แบบ  คือ การเลี้ยงในกระชังและการเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงปลานิลในกระชังส่วนใหญ่จะเลี้ยงบริเวณริมปหล่งน้ำธรรมชาติที่มีคุณภาพน้ำดี มีระยะเวลาของการเลี้ยงนาน 5 เดือน ปีหนึ่งจะเลี้ยงได้ประมาณ 2 รุ่น จะใช้อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยง ส่วนการเลี้ยงในบ่อดิน มีระยะเวลาของการเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 8 เดือน จะใช้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และพืชน้ำ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่มีเนื้อมากและมีรสดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ตลอดจนทำน้ำยาได้ดีเท่ากับเนื้อปลาช่อน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น ทำเป็นปลาเค็มตากแห้งแบบปลาสลิด ปลากรอบ … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Comments Off on การหันมาเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค

เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ข้าวไรซ์เบอรี่ ได้มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค เมล็ดพันธุ์ที่ได้จะถูกแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ปลูกและดูแลรักษา ซึ่งต้องอยู่ในพื้นที่ภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม โดยส่วนมากจะอยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติดีครบถ้วนตามลักษณะพันธุ์ ทำให้ได้ข้าวไรซ์เบอรี่เมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม มีกลิ่นหอมมะลิ น่ารับประทาน ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นข้าวสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกาย และทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจน ลดการอักเสบที่ผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอยและชะลอความแก่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคสมองเสื่อมได้ โดยข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังเป็นอาหารสุขภาพที่ดีต่อทุกเพศทุกวัย สามารถรับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพและทดแทนข้าวขาวหรือข้าวกล้องปกติได้ โดยหากผู้สูงวัยรับประทานก็จะช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาทต่างๆ การหาทางลดต้นทุนการปลูกข้าวควบคู่กันไปกับการหาทางเลือกอื่น เช่น การนำเอาวิถีแบบเกษตรอินทรีย์มาเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่า เกษตรกรต้องหันมาให้ความสำคัญกับการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว การให้ระยะเวลาที่มากพอในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้เลี่ยงปัญหาความชื้น ที่สำคัญคือสนับสนุนให้ปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ขณะที่แนวทางของรัฐก็คือจะเน้นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่า รวมถึงการสร้างโอกาสทางการตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงของราคาข้าวอย่างยั่งยืน … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ความนิยมผักที่ปลูกในระบบ Hydroponics

ผักที่ผลิตโดยระบบการปลูกพืชแบบไร้ดินเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยจากสารพิษ มีสรรพคุณทางสมุนไพร เป็นแหล่งของวิตามิน โปรตีน และเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งอาหารที่มีไขมันต่ำ มีน้ำและกากเส้นใยอาหารจำนวนมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายดีและลดความเสี่ยงกับการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ เนื่องจากใยอาหารจะกระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ขับถ่ายกากใยพร้อมสารพิษภายในออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติสร้างเสริมบำรุงร่างกาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาทและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคปากนกกระจอกช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ให้เส้นใยอาหาร ขจัดอนุมูลอิสระป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคหวัด และปลอดสารพิษ การปลูกพืชไร้ดิน เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง มีการปลูกในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และทำรายได้ให้แก่ ผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพกันมากขึ้น จึงเลือกที่จะบริโภคผักที่ปลูกในระบบ Hydroponics ซึ่งมีการปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ ทำให้มีการใช้สารเคมีน้อยลง ผักที่ได้จึงเป็นผักอนามัย มีการปนเปื้อนสารเคมีน้อยมากและเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจมากขึ้น อีกทั้งการปลูกและการจัดการต่างๆไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด ทุกคนสามารถปลูกเองได้ทุกครัวเรือนเพื่อบริโภคภายในครอบครัว ทำให้ได้บริโภคผักที่สด สะอาดปลอดภัย และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ข้อดีในการปลูกพืชระบบ Hydroponics … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Comments Off on ความนิยมผักที่ปลูกในระบบ Hydroponics

การเลือกที่ดีสำหรับการทำฟาร์ม

การเลือกที่ทำฟาร์มย่อมแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์และประเภทของฟาร์มที่จะทำ กล่าวโดยทั่ว ๆไปแล้ว การปลูกพืชย่อมจะใช้เนื้อที่มากกว่าการเลี้ยงสัตว์ นั่นคือในเนื้อที่หนึ่ง ไร่เราสามารถจะทำการเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ได้เงินเป็นหมื่น ๆ แต่ถ้าใช้ดินเพียงหนึ่งไร่ปลูกข้าวโพดก็คงไม่ได้เงินมากเท่าใด นอกจากนั้นการเลือกที่เลี้ยงสัตว์ก็คงจะเป็นที่ดอนหรือเป็นที่ที่นํ้าไม่ท่วม ส่วนการเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ จะต้องใช้ที่ที่มีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ และการปลูกพืชย่อมใช้ที่ กว้าง ๆ มีน้ำหรืออยู่ใกล้เหล่งการชลประทาน สำหรับการเพาะปลูกผักก็จะต้องอยู่ไกลน้ำ อย่างบริบูรณ์ ถ้าจะใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกที่ทำฟาร์มแล้ว ก็พอจะสรุปได้ดังนี้ 1. พิจารณาให้มีแหล่งน้ำอย่างพอเพียง หากไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติก็ควรจะตรวจสอบดูว่า จะเจาะน้ำบาดาลมาใช้ได้หรือไม่ ในการเลือกที่ดินและน้ำนี้ เราควรจะไปดูดินอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ไปดูดินและน้ำในหน้าแล้งจัด ๆ ครั้งหนึ่ง และไปดูที่ในหน้าฝนชุกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาดูว่า สภาพพื้นที่นั้น ๆ จะเหมาะกับการทำฟาร์มประเภทใด 2. ดูดินและความลาดชัน ดินดีมีความสมบูรณ์เป็นสิ่งที่เราพึงปรารถนาแต่ดินดี … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , | Comments Off on การเลือกที่ดีสำหรับการทำฟาร์ม

การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้เหมาะสำหรับการเพาะปลูก

ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดมสมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดินไม่ดี แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ มีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อเนื่อง โดยขาดการปรับปรุง และบำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรม ที่ไม่เหมาะสม ใช้ ที่ดินผิดประเภทตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง เช่น ดินทราย ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็มดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และ หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , | Comments Off on การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้เหมาะสำหรับการเพาะปลูก

ความสำคัญของที่ดินในการทำการเกษตรกรรมในปัจจุบัน

ปัจจุบันเกษตรกรรมทางเลือกได้กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความล้มเหลวของระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ และได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายหลายประการ ขณะเดียวกันเกษตรกรรมทางเลือกก็เป็นที่สนใจของหน่วยงานของรัฐ และเอกชนหลายองค์กรเกษตรทางเลือกเป็นการทำการเกษตรอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่เกษตรเคมีดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นการทำการเกษตรที่เน้นการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แบะวัสดุคลุมดิน การผสมผสานการปลูกพืชและสัตว์ ลดการไถพรวนและงดเว้นหรือลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้น้อยลงจนถึงขั้นไม่ใช้เลย เกษตรผสมผสานจัดเป็นเกษตรทางเลือกที่เป็นรูปแบบการทำเกษตรที่มีกิจกรรมตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน เช่น การปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรม เช่น ระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในด้านเทคนิคและการจัดการพื้นที่เกษตรนั้น เกษตรผสมผสานให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในพื้นที่ ซึ่งจะไม่เน้นหนักในข้อปฏิบัติ เช่น มีการไถพรวน หรือใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกันก็ได้ เกษตรกรที่เลิกทำนาแล้วหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on ความสำคัญของที่ดินในการทำการเกษตรกรรมในปัจจุบัน

การเตรียมพื้นที่อย่างเหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกยาง เฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และบางจังหวัดของภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางเดิม ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังแหล่งปลูกยางใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยาง เแต่ยางพารามีคุณสมบัติสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี การให้ผลผลิตของต้นยางไม่ว่าผลผลิตน้ำยางและหรือเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธุ์ยาง ความเหมาะสมของพื้นที่ และการจัดการสวนยาง เพราะฉะนั้นในการปลูกสร้างสวนยางนอกจากพิจารณาเลือกพันธุ์ยาง และการจัดการสวนยางที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับปลูกยางด้วย การปลูกสร้างสวนยางพาราของไทยที่ผ่านมา ส่วนมากจะเป็นการปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนยางพันธุ์พื้นเมืองที่มีอายุมากกว่า 25 ปี จึงควรเริ่มโค่นยางเก่าในหน้าแล้งเพื่อสะดวกในการนำไม้ท่อนและไม้ขนาดต่างๆออกจากสวนยาง และสะดวกต่อการกวาด, เก็บ และเผาเศษรากหรือเศษไม้เล็กๆ การเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนยางพารา ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการทำสวนยาง เป็นขั้นตอนหลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการที่จะปลูกยางพันธุ์อะไรการเตรียมพื้นที่หมายถึงการปรับสภาพพื้นที่ให้สะดวกต่อการที่จะปฏิบัติงานและจัดการทุกอย่างในสวนยาง รวมถึงการป้องกันโรคและการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมด้วย ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้เจริญเติบโตช้า เกษตรกรควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์สำหรับการปลูกยางพาราให้เหมาะสม เช่น การเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่และการจัดการสวนยางที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทนต่อภาวะที่เกิดขึ้นจากความแห้งแล้งและภัยธรรมชาติอื่นๆได้ สำหรับการเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางจะต้องปรับพื้นที่ให้มีสภาพเหมาะสม ทั้งด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและการอนุรักษ์ดินและน้ำ … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , , | Comments Off on การเตรียมพื้นที่อย่างเหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา

การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรและการดูแลในอดีตจนถึงปัจจุบัน

การใช้ที่ดินทางการเกษตรสำหรับการใช้ที่ดินทางการเกษตรนั้นจะใช้แบบจำลองการใช้ที่ดินของ von Thünen เพื่ออธิบายการใช้ที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่ โดยแบบจำลองของ von Thünen ได้อธิบายถึงทำเลที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากตลาดและค่าขนส่งสินค้าจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน ซึ่ง von Thünen ได้แบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 6 เขตตามความเข้มของการใช้ที่ดินจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยใช้เมืองเป็นศูนย์กลาง เขตที่ 1 เป็นเขตการผลิตที่ผัก ผลไม้ ที่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มาก ผลผลิตเน่าเสียค่อนข้างง่าย จึงเป็นเขตที่อยู่ใกล้กับชุมชนเพื่อสะดวกในการดูแลและขนส่ง เขตที่ 2 เป็นเขตที่มีการผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่มีน้ำหนักมากแต่มูลค่าต่ำ เช่น ไม้ท่อน ฟืน เพื่อสะดวกในการขนส่ง เขตที่ 3 เป็นเขตที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน 6 ปี มีการใช้ที่ดินแบบเข้มปานกลาง ไม่มีการปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเลย เขตที่ 4 เป็นเขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้ที่ดินที่หมุนเวียนกันไประหว่างการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยที่เมื่อหยุดใช้พื้นที่เพาะปลูกแล้วจะใช้ เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์แทน มีการใช้ที่ดินไม่เข้มข้นมากนัก เขตที่ 5 … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรและการดูแลในอดีตจนถึงปัจจุบัน

การปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง ดินเป็นที่เกิดของทรัพยากร ธรรมชาติอื่นๆ ดินเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด มนุษย์ทุกคนต้องอาศัยทรัพยากรดินในการยังชีพ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดินเป็นที่มาของปัจจัยสี่ อันได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ดินเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งยังคงต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรอันเป็นอาชีพพื้นฐาน ดินเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น แต่เมื่อใช้ไปนานๆ โดยขาดการบำรุงรักษาหรือใช้ไม่เหมาะสมกับสภาพของดินหรือขาดการจัดการที่ดี ก็เสื่อมโทรมลงได้ เมื่อดินเสื่อมโทรมลงจะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตของประเทศ  การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรของไทย  ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำนา รองลงมาคือปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ทำไร่ การเร่งพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับเกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมมากมาย รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงก็อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเกษตรไปเป็นโครงการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ บ้านจัดสรรและสนามกอล์ฟ เป็นต้น นอกจากการสูญเสียที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดภาคกลางของประเทศไทยและในเขตเกษตรกรรมที่ใช้น้ำจืด ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งในสังคมมากมาย ทั้งนี้เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสม จึงมีการระบายน้ำเลี้ยงกุ้งลงสู่พื้นที่ข้างเคียงซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ทำให้ผลิตผลเสียหาย นอกจากนั้นการทิ้งร้างนากุ้งเมื่อผลผลิตกุ้งลดลง โดยไปหาแหล่งผลิตหรือนาข้าวใหม่ๆ ก่อให้เกิดปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการทำเกษตรหรือปลูกข้าว … Continue reading

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , | Comments Off on การปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ