การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรและการดูแลในอดีตจนถึงปัจจุบัน

8

การใช้ที่ดินทางการเกษตรสำหรับการใช้ที่ดินทางการเกษตรนั้นจะใช้แบบจำลองการใช้ที่ดินของ von Thünen เพื่ออธิบายการใช้ที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่ โดยแบบจำลองของ von Thünen ได้อธิบายถึงทำเลที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากตลาดและค่าขนส่งสินค้าจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน ซึ่ง von Thünen ได้แบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 6 เขตตามความเข้มของการใช้ที่ดินจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยใช้เมืองเป็นศูนย์กลาง เขตที่ 1 เป็นเขตการผลิตที่ผัก ผลไม้ ที่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มาก ผลผลิตเน่าเสียค่อนข้างง่าย จึงเป็นเขตที่อยู่ใกล้กับชุมชนเพื่อสะดวกในการดูแลและขนส่ง เขตที่ 2 เป็นเขตที่มีการผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่มีน้ำหนักมากแต่มูลค่าต่ำ เช่น ไม้ท่อน ฟืน เพื่อสะดวกในการขนส่ง เขตที่ 3 เป็นเขตที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน 6 ปี มีการใช้ที่ดินแบบเข้มปานกลาง ไม่มีการปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเลย เขตที่ 4 เป็นเขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้ที่ดินที่หมุนเวียนกันไประหว่างการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยที่เมื่อหยุดใช้พื้นที่เพาะปลูกแล้วจะใช้ เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์แทน มีการใช้ที่ดินไม่เข้มข้นมากนัก เขตที่ 5 เขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หมุนเวียน มีการใช้ที่ดินที่ค่อนข้างจะเบาบาง โดยมีการหมุนเวียนใช้พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกจะถูกพักดินไว้เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ที่เคยเลี้ยงสัตว์จะถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูกอีกครั้ง และเขตที่ 6 เป็นเขตของการเลี้ยงสัตว์แบบขยาย เนื่องจากมีพื้นที่

ในอดีตนั้นในการทำกิจกรรมทางการเกษตรนั้นอาศัยปัจจัยทางด้านกายภาพเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายในการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือนและมีการแบ่งส่วนที่เหลือจากการบริโภคใช้ในการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ให้เกษตรกรจึงไม่ต้องแบกรับภาระทางด้านการตลาด การผลิตของเกษตรกรเป็นการผลิตที่มีความหลากหลาย โดยการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ไปพร้อมกับการเพาะปลูกด้วย สัตว์ที่นิยมเลี้ยง เช่น แพะ แกะ สุกร เป็นต้น ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรจากการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรและการดูแลในอดีตจนถึงปัจจุบัน

การปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง ดินเป็นที่เกิดของทรัพยากร ธรรมชาติอื่นๆ ดินเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด มนุษย์ทุกคนต้องอาศัยทรัพยากรดินในการยังชีพ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดินเป็นที่มาของปัจจัยสี่ อันได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ดินเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งยังคงต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบการเกษตรอันเป็นอาชีพพื้นฐาน ดินเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น แต่เมื่อใช้ไปนานๆ โดยขาดการบำรุงรักษาหรือใช้ไม่เหมาะสมกับสภาพของดินหรือขาดการจัดการที่ดี ก็เสื่อมโทรมลงได้ เมื่อดินเสื่อมโทรมลงจะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตของประเทศ  การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรของไทย  ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำนา รองลงมาคือปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ทำไร่

การเร่งพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับเกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมมากมาย รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงก็อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการเกษตรไปเป็นโครงการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ บ้านจัดสรรและสนามกอล์ฟ เป็นต้น

นอกจากการสูญเสียที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืดภาคกลางของประเทศไทยและในเขตเกษตรกรรมที่ใช้น้ำจืด ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งในสังคมมากมาย ทั้งนี้เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดการที่เหมาะสม จึงมีการระบายน้ำเลี้ยงกุ้งลงสู่พื้นที่ข้างเคียงซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ทำให้ผลิตผลเสียหาย นอกจากนั้นการทิ้งร้างนากุ้งเมื่อผลผลิตกุ้งลดลง โดยไปหาแหล่งผลิตหรือนาข้าวใหม่ๆ ก่อให้เกิดปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการทำเกษตรหรือปลูกข้าว การฟื้นฟูพื้นที่เหล่านี้อาจต้องใช้งบประมาณมากและใช้ระยะเวลานาน และคาดไม่ได้ว่าพื้นที่หลังการฟื้นฟูจะกลับคงความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

การแก้ไขและการปรับปรุงบำรุงดินที่มีปัญหา
การแก้ไขและการปรับปรุงบำรุงดินที่มีปัญหา สามารถกระทำได้หลายวิธีการ เช่น
1) ในกรณีดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้ไขโดยการใช้น้ำฝนชะล้างเกลือที่มีอยู่ในดินให้ละลายออกไป เพื่อทำให้ความเค็มในดินเจือจางลงพอที่จะใช้พื้นที่นั้นมาทำการเพาะปลูกพืชทนเค็มบางชนิดได้ ส่วนการปรับปรุงบำรุงดินอาจทำได้หลายวิธี โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด การใช้ปุ๋ยหมัก การใช้พันธุ์ข้าวหรือพืชทนเค็ม เป็นต้น
2) ในกรณีดินเปรี้ยวจัด  ทำได้โดยการระบายน้ำเฉพาะในส่วนของเนื้อดินตอนบนออกเพื่อล้างสารที่เป็นกรดออกไป และจะต้องควบคุมให้มีน้ำแช่ขังอยู่ในดินล่าง  เพื่อป้องกันไม่ให้สารที่เป็นกรดเกิดขึ้นใหม่อีก   พร้อมกับจะต้องป้องกันไม่ให้น้ำเค็มหรือน้ำกร่อยเข้าในบริเวณพื้นที่ และจะต้องใส่สารปรับปรุงดินพวกปูน เช่นปูนขาว ปูนมาร์ล หินปูนบดละเอียด หรือเปลือกหอยเผา เพื่อให้ทำปฏิกิริยาแก้ความเป็นกรดในดิน ควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช
3) ในกรณีดินทรายจัด ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีควบคู่กันไป เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินให้แก่พืช และควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินและจัดการดินเฉพาะหลุม ปลูกไม้โตเร็ว

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , | Comments Off on การปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ทรัพยากรที่ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกและทำการเกษตร

การหาซื้อที่ดินเพื่อมุ่งเน้นไปที่ที่ดินเพื่อทำการเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก

หมายถึงพื้นที่การเกษตรที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ และจะต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ตามประกาศของกรมป่าไม้ รวมถึงไม่ใช่พื้นที่ที่มีความลาดชันจนเกินไป โดยในการศึกษาจะพิจารณาจากพื้นที่ที่ทำการเกษตรในปัจจุบันจากแผนที่การใช้ที่ดิน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาร่วมกันกับปัจจัยในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก เช่น มีปัญหาดินเปรี้ยว ดินเค็ม หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เป็นต้น

การพัฒนาการเกษตรในระยะที่ผ่านมาปรากฏว่าผลผลิตด้านการเกษตรได้ขยายตัวในอัตราที่สูงและน่าพอใจตลอดมา และมีน้อยประเทศที่จะเทียบได้ นอกจากนั้นการเติบโตของสาขาเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มพูนฐานะและรายได้ให้แก่คนในชนบทส่วนใหญ่และมีส่วนสำคัญต่อการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทให้ลดลง แต่ความเหลื่อมล้ำในฐานะรายได้ระหว่างภาคเกษตรและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ และระหว่างในภูมิภาคส่วนต่างๆ ของประเทศยังมีอยู่อีกมาก จึงเป็นประเด็นสำคัญในการปรับโครงสร้างการเกษตรต่อไป

ความต้องการหาที่ที่มีแหล่งน้ำ

ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ หรือติดแม่น้ำได้ยิ่งดี เพราะน้ำเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด ต่อไปในอนาคตน้ำจะเป็นสิ่งที่หายากขึ้นไปเรื่อยๆ และที่ดินควรจะอยู่ในที่สูงน้ำไม่ท่วมขัง เราคงจะได้รับทราบความลำบากและความเสียหายจากน้ำท่วมกันเป็นอย่างดีแล้ว ในสภาวะอากาศของโลกแปรปรวนอย่างนี้ ต่อไปภัยพิบัติจากธรรมชาติโดยเฉพาะอุทกภัยคงจะรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการลงทุนในที่ดินของเราเป็นการลงทุนระยะยาวถึงยาวมาก จึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เอาไว้ด้วย เราจึงควรเลือกที่ดินที่อยู่สูง ไม่เป็นแอ่ง หรือจุดรับน้ำ

ทรัพยากรที่ดินถือเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักในการดำรงชีพของมนุษย์

เป็นเวลายาวนานนับแต่อดีต พื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกมีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆเนื่องจากการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ไม่เหมาะสมตามศักยภาพ และขาดการจัดการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง การจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาทำการเกษตรต้องมีเอกสารสิทธิ์เป็น โฉนด (น.ส.4ก.) หรือ น.ส.3ก. เท่านั้น เอกสารอื่นๆทางที่ดีอย่างเสี่ยงดีกว่าเพราะจะมีปัญหาเรื่องของกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินในภายหลัง เช่น สปก. หรือ ภบ.ท.5 นั้นไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สามารถนำไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ได้ ที่ดินพวกนี้อาจจะมีราคาถูกกว่าโฉนดก็จริงแต่ถ้ามีปัญหาในภายหลังก็ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง พอเราซื้อมาแต่เอาไปขายไม่ได้หรือซื้อมาแล้วถูกยึดคืน

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , , | Comments Off on ทรัพยากรที่ดินที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกและทำการเกษตร

ข้อคิดดีๆสำหรับคนที่ต้องการซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร

730480-topic-ix-0

การจะเริ่มทำการเกษตรได้นั้นเราควรมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่ก่อนจะลงมือซื้อที่ดินผืนใด ขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่สำคัญก่อนซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตร ดังนี้

1.   ในที่ดินต้องมีแหล่งน้ำหรือติดกับแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งปี เพราะการซื้อที่ดินที่ไม่มีน้ำ ก็เท่ากับไม่มีประโยชน์ในเชิงเกษตร แหล่งน้ำที่ว่านี้อาจจะเป็นคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ คลองธรรมชาติ แม่น้ำ ฯลฯ ถ้าเป็นที่ผืนใหญ่ไม่ควรเป็นน้ำบาดาล เพราะอาจมีปริมาณไม่พอเพียงและอาจจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการตะกอนในภายหลัง
2.   ที่ดินควรใกล้กับถนน และไม่ไกลจากบ้านที่อยู่ประจำของคุณมากนัก การไปมาทำได้ง่าย เมื่อการเดินทางสะดวก ก็ทำให้เรารู้สึกอยากไปเยือนบ่อยๆ
3.   ที่ดินควรใกล้ตลาดหรือชุมชน หรือผู้ซื้อรายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถขนส่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้โดยง่าย (หากคิดจะปลูกเพื่อจำหน่าย) เช่น อยากปลูกมะม่วงส่งออกแต่ผู้ปลูกอยู่ภาคใต้ ส่วนผู้ส่งออกอยู่ภาคเหนือและภาคกลาง อย่างนี้ ถ้าปลูกไม่มากพอก็จะไม่มีผู้ซื้อวิ่งไปซื้อแน่ๆ ค่าน้ำมันทุกวันนี้แพงมากๆ ค่ะ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ซื้อมักจะถามก่อนว่าปลูกกี่ไร่ กี่ต้น ผลผลิตกี่ตัน
4.   ควรมีเพื่อนบ้านและสังคมที่ดี ก่อนซื้อที่ดินควรลองไปสำรวจดูว่าเพื่อนบ้านมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ที่ดินบางผืนราคาถูกเพราะเพื่อนบ้านขี้ขโมย ผลผลิตอะไรออกมาหายหมด ติดตั้งปั๊มน้ำก็หาย บางทีเผลออาทิตย์เดียวบ้านทั้งหลังรื้อเอาไปขายก็มี ลองไปถามสถานีตำรวจในพื้นที่ดูว่าคดีลักขโมยมีแยะไหม ใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และทัศนคติเขาเป็นอย่างไร
5.   ที่ดินควรมีต้นไม้ขึ้นอยู่ในที่บ้าง เพื่อแสดงว่าดินที่นี่ปลูกต้นไม้ได้ บางคนไปซื้อที่ดินที่เตียนโล่งแม้แต่หญ้าก็ไม่ขึ้น แล้วมาดีใจว่าไม่ต้องถางหญ้าปรับที่ดิน ซึ่งแท้ที่จริงเป็นดินเค็มที่เพาะปลูกอะไรไม่ได้  หากเป็นไปได้ลองสังเกตด้วยว่าต้นไม้ที่ขึ้นในที่ดินนั้นเป็นต้นอะไรเพื่อจะได้ทราบว่าที่ดินผืนนั้นเพาะปลูกผลไม้ชนิดใดได้ดีที่สุด
6.   ที่ดินทำสวนเกษตรส่วนใหญ่ควรเป็นพื้นราบ เพราะหากเป็นที่ลาดชันเวลารดน้ำต้นไม้ น้ำจะไหลลงเบื้องล่างหมด หากต้องทำขั้นบันไดก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าที่ดินผืนราบ แต่หากจะปลูกไม้ยืนต้นพวกไม้ป่า ก็เป็นที่เนินเขาได้ค่ะ ทั้งนี้ขึ้นกับพืชที่เลือกจะปลูก
7.   ไม่ควรเป็นที่น้ำท่วมขัง ที่ดินบางผืนในช่วงฤดูฝนจะตรงกับแนวน้ำท่วมพอดี อย่างนี้ปลูกพืชอะไรไม่ทันเก็บเกี่ยวก็ตายหมด แล้วอย่ามาดีใจว่าไม่ปลูกพืชก็ได้ไหนๆน้ำมากเลี้ยงปลาเสียเลย ขอโทษค่ะ พอน้ำท่วมขึ้นมาปลาที่เลี้ยงก็หายหมดเหมือนกัน
8.  ให้สำรวจหน้าดินของที่ดินที่ซื้อด้วยค่ะ พอดีมีเพื่อนเกษตรกรโทรมาปรึกษา มีที่ดินแต่หน้าดินที่ปลูกพืชได้มีเพียง 1-2 เมตรลึกลงไปกว่านั้นกลายเป็นดินผสมหินแบบแข็งเลย รากพืชชอนไชลงไปไม่ได้ อย่างนี้หากก่อนซื้อเตรียมแผนไว้ก็คงต้องปรับแผนเพื่อปลูกพืชที่มีระบบรากไม่ลึกมากค่ะ
9. เวลาซื้อที่ดิน อย่ามองแค่ค่าที่ดินอย่างเดียว ให้คำนึงถึงว่าจะต้องมีค่าปรับปรุงที่ดินอีกเท่าไหร่ด้วย เ
10. การซื้อที่ดินร่วมกับคนอื่น ควรตกลงกันให้แน่ชัดตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ จะร่วมกันรับผิดชอบอย่างไร ค่าโอนที่ดิน ค่าสาธารณูปโภค

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged , | Comments Off on ข้อคิดดีๆสำหรับคนที่ต้องการซื้อที่ดินเพื่อการเกษตร

การลงทุนที่ดินทางการเกษตร

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ฉันเชื่อว่ามีหลายคนที่คงเคยได้ยินข่าวคราวเรื่องการจำนำข้าวมาอย่างแน่นอน และด้วยข่าวคราวนี้เองที่ทำให้หลายคนที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดที่รายได้น้อยส่วนหนึ่งหันมาสนใจการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นการเกษตรของไทยแต่โบล่ำโบราณ หลากคนต่างพากันมองหาที่ดินราคาถูกที่อุดมสมบรูณ์เพื่อจะได้นำมาทำการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากข้าวมีราคาดี ซึ่งที่ดินราคาถูกที่ว่าก็คือที่ดินที่มีปัญหาการฟ้องร้อง ต่างๆ เมื่อผ่านขั้นตอนทางกฎหมายจนเสร็จสิ้นแล้ว ที่ดินที่ถูกนำมาใช้เป็นค่าเสียหาย ค่าชดใช้ ไม่ก็ถูกบังคับขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ แต่จะได้เท่าไรนั้นว่ากันอีกที ซึ่งที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ก็จะถูกนำออกขาย เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาค่อนข้างถูก

ว่าด้วยกรมบังคับคดีนั้นผู้อ่านควรศึกษาหาข้อมูลกันให้ถี่ถ้วนก่อน เนื่องจากรูปแบบการขายทอดตลาดและการประมูล โดยกรมบังคับคดีในจังหวัดนั้นๆจะมีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าว่าจะมีการประมูลขายเมื่อใด และผู้เข้ารวมต้องวางเงินมัดจำเพื่อเป็นค่าร่วมการประมูลในครั้งนั้นๆก่อน ส่วนเงื่อนไขในการประมูลนั้นมีเยอะมาก จะเรียกว่าจุกจิกก็ว่าได้อาทิเช่น การยกเลิกจากเจ้าหน้าที่เนื่องจากเห็นว่าราคาไม่สมควรกับความเป็นจริง มีทั้งการส่งเจ้าหน้าที่ของกรมบังคับคดีเองเข้าร่วมการประมูลเพราะอยากปั่นราคาให้สูง และอีกหลายปัจจัยที่ทำให้การประมูลดูจุกจิก อย่างว่าของราคาถูกและดีอาจจะไม่มีในโลกก็เป็นได้

ที่ดินทางการเกษตรหรือที่ดินทั่วไปที่ได้จากการประมูลมักจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาเพราะถ้าไม่มีปัญหาคงไม่ถูกบังคับขายให้ยุ่งยาก วุ่นวาย จึงควรพิจารณาให้ดีอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนทั้งในเรื่องของสภาพแวดล้อมกับคนในพื้นที่ เจ้าของผู้ใช้ประโยชน์ก่อนหน้านี้และรวมไปถึงเอกสาร หลักฐานที่ดินทางการเกษตรหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตรและเป็นหนทางหาพื้นที่ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินในราคาถูกหนทางหนึ่งเพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับหลายๆท่านที่อยากมีกินมีใช้จากนโยบายจำนำข้าวเท่านั้น แต่ยังไงก็ขอย้ำอีกครั้งว่าให้ศึกษาข้อมูลดีก่อนตัดสินใจเพราะการลงทุนมีความเสี่ยง

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on การลงทุนที่ดินทางการเกษตร

คอนโดมิเนียมห้องสี่เหลี่ยมที่ลงตัว

คอนโดมิเนียมห้องสี่เหลี่ยมที่ลงตัว

 

สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยู่ต่างจังหวัด ก็คงจะรู้สึกอึดอัดอยู่ไม่น้อยเลย ถ้าหากว่าจะต้องมาอยู่ในคอนโดมิเนียม หรือว่าห้องเช่าขนาดเล็ก ๆ แบบนี้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ เพราะว่าในเมืองตอนนี้นั้น ส่วนใหญ่ล้วนมีคอนโดมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ประกอบการหอพักจากเดิมที่เคยมีผู้เช่าจำนวนมาก ๆ ก็อาจจะต้องแบ่งไปทางคอนโดมิเนียม เพราะว่าข้อเสนอของการอยู่คอนโดมิเนียมนั้น ถึงแม้ว่าจะพื้นที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อม การรักษาความปลอดภัย อีกทั้งสวัสดิการต่าง ๆ จึงทำให้หลาย ๆ คนยอมเสียเงินมากขึ้นเพื่อให้คุณภาพชีวิตนั้นดีมากขึ้นกว่าเดิม มีความมั่นใจมากขึ้น แต่ถึงแม้ว่าราคาอาจจะสูงกว่า เกือบเท่าตัวจากห้องเช่าเดิมก็ตาม

ตอนนี้ตามห้องพัก ที่ให้เช่านั้น ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีลดน้อยลงก็ตามแต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ราคาก็ยังคงตัวเพื่อรักษาผู้เช่ารายก่อน ๆ ไว้ ดังนั้นกลุ่มตลาดสำหรับหอพัก หรือว่าห้องเช่าทั่วไปนั้น จะอยู่ที่คนที่มีรายได้ช่วง 1 หมื่นบาท – 2 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนคอนโดมิเนียม เป็นคอนโดอาจจะเป็นทั้งเจ้าของเอง หรือว่าปล่อยให้เช่าก็ตามที แต่สิ่งที่เป็นจริง ๆ ก็คือคอนโดเหล่านี้จะต้องมีการปล่อยเช่าอย่างน้อย ๆ ควรจะได้กำไรจากการปล่อยเช่านั้นอยู่ที่ประมาณหลักพัน (เท่าที่สังเกตุมา) นั่นเองครับ

เพราะว่าคนที่เช่าแน่นอนว่าจะต้องมีรายได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นรายได้ที่ยืดยาว หรือว่าได้มากเท่าไหร่นัก การเช่าคอนโดจึงเป็นการเช่าที่เขาเองก็พอรับได้ เพราะว่ารายได้ของเขานั้นมีมากกว่า 15,000 บาทอย่างแน่นอน ดังนั้นหากเพื่อน ๆ สนใจที่จะเช่าคอนโด ก็ลองหาที่ใกล้กับที่ทำงาน แล้วลองเทียบดูราคากันหลาย ๆ ห้องถ้าเขาปล่อยเช่า อย่าคำนึงเรื่องวิวมากครับ ถ้าคิดว่าจะพออยู่ได้ เพราะว่าคอนโดวิวดีมักจะมีราคาแพงนั่นเอง

Posted in ความรู้อสังหา | Tagged | Comments Off on คอนโดมิเนียมห้องสี่เหลี่ยมที่ลงตัว