การเตรียมพื้นที่อย่างเหมาะสมสำหรับปลูกยางพารา

Farmthailand1

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกยาง เฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และบางจังหวัดของภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางเดิม ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังแหล่งปลูกยางใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยาง เแต่ยางพารามีคุณสมบัติสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี การให้ผลผลิตของต้นยางไม่ว่าผลผลิตน้ำยางและหรือเนื้อไม้ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธุ์ยาง ความเหมาะสมของพื้นที่ และการจัดการสวนยาง เพราะฉะนั้นในการปลูกสร้างสวนยางนอกจากพิจารณาเลือกพันธุ์ยาง และการจัดการสวนยางที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับปลูกยางด้วย

การปลูกสร้างสวนยางพาราของไทยที่ผ่านมา

ส่วนมากจะเป็นการปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนยางพันธุ์พื้นเมืองที่มีอายุมากกว่า 25 ปี จึงควรเริ่มโค่นยางเก่าในหน้าแล้งเพื่อสะดวกในการนำไม้ท่อนและไม้ขนาดต่างๆออกจากสวนยาง และสะดวกต่อการกวาด, เก็บ และเผาเศษรากหรือเศษไม้เล็กๆ การเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนยางพารา ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการทำสวนยาง เป็นขั้นตอนหลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการที่จะปลูกยางพันธุ์อะไรการเตรียมพื้นที่หมายถึงการปรับสภาพพื้นที่ให้สะดวกต่อการที่จะปฏิบัติงานและจัดการทุกอย่างในสวนยาง รวมถึงการป้องกันโรคและการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมด้วย

ต้นยางที่ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม จะมีผลทำให้เจริญเติบโตช้า เกษตรกรควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์สำหรับการปลูกยางพาราให้เหมาะสม เช่น การเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่และการจัดการสวนยางที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทนต่อภาวะที่เกิดขึ้นจากความแห้งแล้งและภัยธรรมชาติอื่นๆได้ สำหรับการเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางจะต้องปรับพื้นที่ให้มีสภาพเหมาะสม ทั้งด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ต้องวางแผนการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความสะดวกในการดูแลบำรุงรักษาต้นยาง

ศักยภาพดินเพื่อปลูกยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

– สีเหลือง ระดับที่ 1 เป็นบริเวณที่ปลูกได้ไม่มีปัญหาหรือมีบ้างเช่นทำคันนาปลูกข้าว ทำลายคันออก
– สีน้ำเงิน ระดับที่ 2 เป็นบริเวณที่ปลูกได้ มีปัญหาเล็กน้อยเช่นทำคันนาปลูกข้าว ทำลายคันออก ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ดินเป็นทราย
– สีแดง ระดับที่ 3 เป็นบริเวณที่ปลูกได้มีปัญหาเช่นทำคันนาปลูกข้าว มีหินแข็งหรือกรวดลูกรัง หรือดินด่างต้องปรับสภาพดิน
– ไม่มีสี ระดับที่ 4 เป็นบริเวณไม่ควรปลูก พื้นที่หมู่บ้าน น้ำ พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีคราบเกลือหน้าดิน ที่ลุ่มนาน้ำขัง มีชั้นปูนในดิน ทรายจัดมาก หินโผล่หน้าดิน หากไม่พบข้อจำกัดดังกล่าวก็อาจปลูกยางพาราได้

This entry was posted in ความรู้อสังหา and tagged , , . Bookmark the permalink.