การใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรและการดูแลในอดีตจนถึงปัจจุบัน

8

การใช้ที่ดินทางการเกษตรสำหรับการใช้ที่ดินทางการเกษตรนั้นจะใช้แบบจำลองการใช้ที่ดินของ von Thünen เพื่ออธิบายการใช้ที่ดินทางการเกษตรในพื้นที่ โดยแบบจำลองของ von Thünen ได้อธิบายถึงทำเลที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากตลาดและค่าขนส่งสินค้าจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน ซึ่ง von Thünen ได้แบ่งเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 6 เขตตามความเข้มของการใช้ที่ดินจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยใช้เมืองเป็นศูนย์กลาง เขตที่ 1 เป็นเขตการผลิตที่ผัก ผลไม้ ที่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มาก ผลผลิตเน่าเสียค่อนข้างง่าย จึงเป็นเขตที่อยู่ใกล้กับชุมชนเพื่อสะดวกในการดูแลและขนส่ง เขตที่ 2 เป็นเขตที่มีการผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพที่มีน้ำหนักมากแต่มูลค่าต่ำ เช่น ไม้ท่อน ฟืน เพื่อสะดวกในการขนส่ง เขตที่ 3 เป็นเขตที่มีการปลูกพืชหมุนเวียน 6 ปี มีการใช้ที่ดินแบบเข้มปานกลาง ไม่มีการปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างเลย เขตที่ 4 เป็นเขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้ที่ดินที่หมุนเวียนกันไประหว่างการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยที่เมื่อหยุดใช้พื้นที่เพาะปลูกแล้วจะใช้ เป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์แทน มีการใช้ที่ดินไม่เข้มข้นมากนัก เขตที่ 5 เขตการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์หมุนเวียน มีการใช้ที่ดินที่ค่อนข้างจะเบาบาง โดยมีการหมุนเวียนใช้พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่เพาะปลูกจะถูกพักดินไว้เพื่อนำมาเป็นพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ที่เคยเลี้ยงสัตว์จะถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูกอีกครั้ง และเขตที่ 6 เป็นเขตของการเลี้ยงสัตว์แบบขยาย เนื่องจากมีพื้นที่

ในอดีตนั้นในการทำกิจกรรมทางการเกษตรนั้นอาศัยปัจจัยทางด้านกายภาพเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายในการผลิตเพื่อใช้ในการบริโภคภายในครัวเรือนและมีการแบ่งส่วนที่เหลือจากการบริโภคใช้ในการแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ให้เกษตรกรจึงไม่ต้องแบกรับภาระทางด้านการตลาด การผลิตของเกษตรกรเป็นการผลิตที่มีความหลากหลาย โดยการปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ไปพร้อมกับการเพาะปลูกด้วย สัตว์ที่นิยมเลี้ยง เช่น แพะ แกะ สุกร เป็นต้น ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรจากการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่

This entry was posted in ความรู้อสังหา and tagged . Bookmark the permalink.